075Chanida:ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (information processing theory)
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
(information
processing theory)
ทิศนา
แขมมณี ได้กล่าวถึงทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลไว้ว่า
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง
ทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950
จวบจนปัจจุบัน คลอสเมียร์
ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง
ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้คือ
1. การรับข้อมูล ( input ) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2. การเข้ารหัส ( encoding ) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์
( software )
3. การส่งข้อมูลออก ( output ) โดยผ่านทางอุปกรณ์
กระบวนการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น
ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ
การรู้จัก ( recognition ) และความใส่ใจ ( attention
) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า ซึ่งจะดำรงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก
ในการทำงานที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ
ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง
ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำสิ่งนั้นไว้ใช้งานได้ การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง
สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส ( encoding
) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว ( long term memory ) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง ความจำระยะยาวนี้มี 2
ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา ( semantic ) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์
( episodic ) นอกจากนั้นยังอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความจำประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว ( motoric memory ) หรือความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก ( affective memory )กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลจะได้รับการบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง
ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว ก็คือโปรแกรมสั่งงานหรือ “ software
” นั่นเอง
ดังนั้น
ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นหรือการรู้คิด
( metacognitive knowledge ) จึงมักประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล
( person ) งาน ( task ) และกลวิธี ( strategy
)
ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
แพริสและคณะ (1983) ได้จำแนกความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นออกเป็น
3 ประเภท เช่นเดียวกัน ได้แก่
1.ความรู้ในเชิงปัจจัย ( declarative knowledge )
2.ความรู้เชิงกระบวนการ ( procedural knowledge )
3.ความรู้เชิงเงื่อนไข ( conditional knowledge)
ปรียาพร
วงศ์อนุตรโรจน์ กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า
การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ
ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
พรหมมา วิหคไพบูลย์ (2558) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing
Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
สรุป
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
เป็นทฤษฎีที่สนใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง
ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของมนุษย์มีความคล้ายกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
หลักในการจัดการเรียนการสอน คือ นำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
นั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย
ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553).
ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
ด่าน สุทธาการพิมพ์:
กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2561
กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2561
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์
(2543).
ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2561
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2561
พรหมมา วิหคไพบูลย์.
(2558). http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่
8 กรกฎาคม
พ.ศ.2561
พ.ศ.2561
Graton Casino Hotel, Tunica Resorts, MS 38664 - Mapyro
ตอบลบFind the cheapest 김포 출장샵 and quickest ways 경주 출장안마 to get from Graton Casino Hotel, Tunica 수원 출장마사지 Resorts to Graton Casino Hotel, Tunica Resorts and 경상남도 출장마사지 more places to 안동 출장안마 stay