075 Chanida ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ขวัญจิต ภิญโญชีพ ได้กล่าวไว้ว่า กลุ่มนี้มีความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่ อินทรีย์ปะทะสิ่งเร้า (Stimulus) แล้วทำการตอบสนอง (Response) สิ่งเร้า จากนั้นคอยดูผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการตอบสนองสิ่งเร้านั้น หากผลเป็นที่พอใจต่อไปหากประสบกับสิ่งเร้าแบบนี้อีก ก็จะทำการตอบสนองเช่นเดิม หากทำซ้ำๆกันก็จะกลายเป็นนิสัย หากผลไม่เป็นที่พอใจ ก็จะเปลี่ยนวิธีการตอบสนอง ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็กไม่เคยพบเทียนที่จุดสว่างมาก่อน(S) จึงเอื้อมมาจับ(R) ผลคือร้อนไม่เป็นที่พอใจ ครั้งต่อไปเมื่อพบเทียนจุดก็จะไม่จับอีก คือเกิดการเรียนรู้จึงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น ลูกกลับจากโรงเรียนมาเห็นแม่กำลังทำงานบ้านอยู่ก็เข้าช่วย แม่ยิ้ม กล่าวคำชมเชยและหาขนมให้รับประทาน การยิ้ม คำชมเชย และการได้ขนมเป็นรางวัล เป็นแรงเสริม Reinforcer ที่จะส่งผลให้เด็กกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก หากกระทำซ้ำบ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นนิสัย
https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
- สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
- สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม
  ธรรมชาติ 
- สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูก
  วางเงื่อนไขแล้ว
การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจาก
การเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
- การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
- การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
- การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

ได้รวบรวมไว้ว่า แนวคิดนี้เกิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย John B. Watson โดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานมาจากนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ชื่อ Pavlov ซึ่งอธิบายถึงการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองเพราะการวางเงื่อนไข ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์จึงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เนื่องจากจิตไม่มีตัวตน สิ่งที่สังเกตได้คือ การแสดงออกในรูปแบบของการกระทำหรือพฤติกรรมซึ่งอาจสังเกตได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสหรือด้วยเครื่องมือวัด วิธีการศึกษาของกลุ่มนี้ส่วนมากใช้วิธีการทดลองประกอบกับการสังเกตอย่างมีแบบแผน แล้วบันทึกไว้เป็นหลักฐาน Watson เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย John Hopkins ได้ประกาศทฤษฎีของเขาในหนังสือ จิตวิทยาในทัศนะของนักพฤติกรรมนิยมโดยมีแนวคิดที่สำคัญ คือ พฤติกรรมทั้งหลายเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเรากับการตอบสนอง (S-R Bond) โดยอธิบายว่า เมื่ออินทรีย์ (Organism) ถูกเร้าจะมีการตอบสนองเกิดขึ้น วิธีการศึกษาของกลุ่มนี้อาศัยการทดลองจากสัตว์ เนื่องจากการทดลองกับสัตว์ง่ายกว่าการทดลองกับคน และเราสามารถเรียนรู้เรื่องของคนได้จากการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์
แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้ คือ
- กลุ่มพฤติกรรมนิยมศึกษาเนื้อหา ระเบียบวิธีแนววิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
- มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้หรือสามารถวัดได้
- มุ่งศึกษาเกี่ยวกับกลไกทางสรีรวิทยา เช่น การทำงานของต่อมระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ
- ยอมรับเฉพาะระเบียบวินัยวิธีปรนัย ไม่ยอมรับวิธีการสังเกตตนเองหรือลักษณะวิธีแบบอัตนัย
- มุ่งศึกษาพฤติกรรมโดยเฉพาะ ต้องการให้จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรม
- ยอมรับเฉพาะข้อมูลที่ได้จากระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ข้อมูลที่ได้ต้องมาจากการสังเกต


สรุป
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง สังเกตได้จากการแสดงออกมาในรูปแบบการกระทำหรือพฤติกรรมต่างๆ ของสิ่งนั้น จากนั้นคอยดูผลที่เกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า หากผลการตอบสนองเป็นที่พอใจ ก็จะประสบกับสิ่งเร้านั้นอีกต่อไปซ้ำๆ แต่ถ้าหากเป็นที่น่าไม่พอใจก็จะเปลี่ยนวิธีการตอบสนอง การตอบสนองนั้นเป็นการนำไปสู่การเรียนรู้ของมนุษย์นั่นเอง


ที่มา
ขวัญจิต ภิญโญชีพ. (2534). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูจันทรเกษม. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 
              กรกฎาคม พ.ศ.2561
https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2561
https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-5/the_attitude_of_the_psychologist_groups/05.html. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 
             พ.ศ.2561



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanida:075 การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือแบบทดลอง (Loboratory Method)

075Chanida:ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

075Chanida:รูปแบบการจัดการเรียนรู้