บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

075Chanida:รูปแบบการจัดการเรียนรู้

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 1. การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม ( Constructivism ) 2. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ( Authentic Instruction ) 3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก ( Resource – Based Learning ) 4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์ 5. การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส ( Neo - Humanist ) 6. การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ ( Surrealism ) 7. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg ( The triarchic theory of Human Intelligence ) 8. การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) 9. การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง ( Self – Directed Learning ) 10. การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา ( CIPPA Model ) 11. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น 12. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม ( Value Clarification ) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน 13. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ 14. การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ 15. ก

075Chanida:ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning) รังสิมา วงษ์ตระกูล ได้รวบรวมว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือกันหรือการร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย   จึงถือได้ว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนักการศึกษาที่สำคัญในวงการศึกษาได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้ จอห์นสัน และจอห์นสัน ได้ให้ความรู้ของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มผู้เรียนซึ่งต้องการการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน(ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จร่วมกัน) , ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน , การใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(การติดต่อสื่อสาร , ความเชื่อมั่น , ความเป็นผู้นำ , การตัดสินใจ , การลดความขัดแย้ง) , การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด , และกระบวนการ(สิ่งที่สะท้อนกลับคือประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างไรและดีขึ้นมากแค่ไหน( Johnson และ Johnson. Onl

075Chanida:ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( Constructionism) http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructionism.html ได้กล่าวว่า ทฤษฎี “Constructionism” เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget) เช่นเดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ ( Constructionism) ผู้พัฒนาทฤษฏีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท ( Seymour Papert) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ ( Massachusetts Institute of Technology) เพเพอร์ทได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในวงการศึกษา แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ (สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2542: 1-2) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งใดขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่ค

075Chanida:ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตัวเอง (Constructivism)

ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตัวเอง ( Constructivism) https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism ได้รวบรวมว่า ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตัวเอง ( Constructivism)   เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน ได้อธิบายว่า  Constructivism  คือ การ ที่ผู้เรียน ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ของพีอาเจย์ การเรียนรู้เกิดจาก การค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจาก ความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ แต่ละบุคคลได้สร้าง ความรู้ขึ้นและ ทำให้สำเร็จโดยผ่านกระบวนการ ของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ใน สภาพสมดุล ประกอบด้วยกระบวนการ  2  อย่าง คือ 1. การซึมซาบหรือดูดซึม ( Assimilation)  เป็นกระบว

075Chanida:ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)

รูปภาพ
ทฤษฎีพหุปัญญา( Theory of Multiple Intelligences) ศศิธร เวียงวะลัย ได้กล่าวว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ( Howard Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ( Harvard University) การ์ดเนอร์ ให้นิยามคำ “ เชาว์ปัญญา ” ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่งรวมทั้งความสมารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่หลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกันไปจากคนอื่นและมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน 2. เชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะอยู่ไม่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีในตอนเกิดนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม เชาว์ปัญญาของบุคคลประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการคือ             - ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เ