075 Chanida :ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)
ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)
รศ.มัณฑรา
ธรรมบุศย์ ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ
แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น
กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์
นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง มีอารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ
การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม
การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์
เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม
คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ
แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ
การที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
http://rattanawutdpu.blogspot.com/2011/06/humanism.html รวบรวมไว้ว่า
ทฤษฎีมนุษย์นิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ
แต่จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น
ลักษณะสำคัญ
นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน
หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow
Rogers ได้พัฒนาแนวคิดแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมว่าจะเรียนได้ดีในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่สบาย
(Comfortable) ไม่มีการคุกคาม (Threatened) จากองค์ประกอบภายนอก ส่วนครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitator)
หลักกการหรือความเชื่อของทฤษฎี
คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ
แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด
หรือมโนทัศน์ของตนเอง
Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีมนุษย์นิยมจากความเชื่อที่ว่า
มนุษย์ไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอก
หรือไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสัญชาติญาณของจิตไร้สำนึก
แต่มนุษย์ต้องการที่เรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ (Fully
Functioning Person) ซึ่ง Maslow ใช้คำว่า Self-actualizing
Person
Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของความต้องการของมนุษย์ไว้
5 ขั้นคือ
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs) คือความต้องการในการดำรงชีวิต
เช่น ความต้องการอาหาร อากาศ น้ำ และอุณหภูมิ เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Need) คือความต้องการที่จะมีความมั่นคงหรือปลอดภัยในชีวิต
3. ความต้องการความรัก ความชอบ และการเป็นเจ้าของ (Need of Love, Affection and Belongingness)
4.ความต้องการความภาคภูมิใจ (Need for Esteem) คือความต้องการที่จะมีความภาคภูมิใจในตนเองและความภาคภูมิใจที่จะได้รับจากผู้อื่นด้วยการเคารพตนเองและได้รับความเคารพจากผู้อื่น
5. ความต้องการเป็นมนุย์ที่สมบูรณ์ (Need for Self-Actualization) คือความต้องการที่จะเป็น (Be) หรือ ทำ (Do) ในสิ่งที่บุคคลเกิดมาให้สมบูรณ์ หรือไปถึงจุดสูงสุด
ส่วนของ
Chapman
มีหลักการคล้ายๆ กันกับ Maslow แต่ได้อธิบายเพิ่ม
ขึ้นมา คือ
ขั้นที่
5 ความต้องการทางสติปัญญา (Cognitive Need) คือความต้องการในการเรียนรู้และสามารถในการตีความหมาย
ขั้นที่
6 ความต้องการทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Needs) คือความต้องการความซาบซึ้งใจในความงาน
ความสมดุล และความสมบูรณ์แบบ
ขั้นที่
7 ความต้องการในการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ขั้นที่
8 ความต้องการในการเป็นมนุษย์เหนือมนุษย์ (Transcendence Needs) คือความต้องการที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้อื่นให้พัฒนาไปถึงขีดสูงสุดและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
wings
swagger รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ
แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยม
เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์
นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ
การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม
การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์
เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ
แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด
หรือมโนทัศน์ของตนเอง
ลักษณะสำคัญ
นักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน
หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow ทฤษฏีนี้
เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม
การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
การประยุกต์ใช้
การประยุกต์ใช้ของทฤษฎีมนุษย์นิยม
ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้นำไปประยุกต์ใช้
มีข้อปฏิบัติสำคัญ ดังนี้
1. ครูควรเป็นคนใจกว้าง ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง
2. ครูควรรับฟังผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก
3. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเท่ากับความสำคัญของเนื้อหาที่นำมาสอน
4. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทั้งทางบวกและทางลบ
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
6. จัดการเรียน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอนให้หลากหลาย
7. กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการประเมินผลที่มีคุณค่า
คือการประเมินตนเองของผู้เรียน
สรุป
ทฤษฎีมนุษยนิยมจะมีความเป็นวิทยาศาสตร์
คือเป็นกระบวนการ ซึ่งจะให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า
มีความสามารถ มีความต้องการ มีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
หากมีอิสรภาพและเสรีภาพจะส่งเสริมเป็นแรงทางบวกเพื่อที่จะให้มนุษย์ได้พยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้จะจัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะและเจตคติไปพร้อมๆกัน
ที่มา
รศ.มัณฑรา
ธรรมบุศย์. https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-kar-reiyn-ru/thvsdi-kar-reiyn-
ru-klum-mnusy-niym. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ru-klum-mnusy-niym. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
http://rattanawutdpu.blogspot.com/2011/06/humanism.html. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม พ.ศ. 2561
wings
swagger. https://sites.google.com/site/wingsswagger/6-phu-cad-tha. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น