075 Chanida : ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)
https://sites.google.com/site/psychologymcu5/contact รวบรวมไว้ว่า กลุ่มพุทธิปัญญา
ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน
ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น
โดยมิได้สนใจกับกระบวนการคิดหรือกิจกรรมทางสติปัญญาของมนุษย์ (Mental
activities)ซึ่งเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องศึกษากระบวนการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตได้
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พุทธิปัญญา (Cognitive) เป็นการให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก (ส่งผ่านโดยสื่อต่าง ๆ) กับสิ่งเร้าภายใน
ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือ กระบวนการรู้-คิด หรือ กระบวนการคิด (Cognitive
process) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการคิด (Cognitive process) ซึ่งประกอบด้วย
- ความใส่ใจ (Attending)
- การรับรู้ (Perception)
- การจำได้ (Remembering)
- การคิดอย่างมีเหตุผล
(Reasoning)
- จินตนาการหรือการวาดภาพในใจ
(Imagining)
- การคาดการณ์ล่วงหน้าหรือการมีแผนการรองรับ
(Anticipating)
- การตัดสินใจ (Decision)
- การแก้ปัญหา (Problem
solving)
- การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ
(Classifying)
- การตีความหมาย
หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธิปัญญานิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์
การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่าง ๆ
ที่ได้จากประสบการณ์
https://www.gotoknow.org/posts/398572 ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
(Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล
การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี
คือ
- ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt
Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์
บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
- ทฤษฎีสนาม(Field
Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ
การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน
การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign
Theory) ของทอลแมน(Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ
การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ
ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual
Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน
ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น
ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A
Theory of Meaningful Verbal Learning)
ของออซูเบล(Ausubel)
เชื่อว่า
การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์
หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
ศศิธร
เวียงวะลัย ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์แบนดูรา (Bandura)
แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวอยู่เสมอ
แบนดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคมซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกัน
แบนดูราได้ให้ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
และถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม
โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน แบนดูราถือว่าบุคคลที่ต้องการจะเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรม
แบนดูราได้สรุปว่าพฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1.พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้
ผู้ซึ้งแสดงออก หรือกระทำอย่างสม่ำเสมอ
2.พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ
3.พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำเพราะไม่เคยเรียนรู้จริง
สรุป
ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมจะเน้นกระบวนการทางการคิด
การให้เหตุผลที่เกิดจากกระบวนการทางสมองโดยให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์
การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่าง ๆ
ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีสำคัญๆในกลุ่มนี้ มี 5
ทฤษฏี คือ
1. ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt
Theory)
2.ทฤษฎีสนาม(Field Theory)
3.ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)
4.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)
5.ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal
Learning)
ที่มา
https://sites.google.com/site/psychologymcu5/contact. [online] เข้าถึงเมื่อวันที่
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
https://www.gotoknow.org/posts/398572. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ศศิธร
เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โอ.
เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น