075Chanida:ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Theory
of Cooperative or Collaborative Learning)
รังสิมา วงษ์ตระกูล ได้รวบรวมว่า
การเรียนรู้แบบร่วมมือกันหรือการร่วมมือกันเรียนรู้
เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
จึงถือได้ว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนักการศึกษาที่สำคัญในวงการศึกษาได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้
จอห์นสัน และจอห์นสัน
ได้ให้ความรู้ของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มผู้เรียนซึ่งต้องการการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน(ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จร่วมกัน),ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน,การใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(การติดต่อสื่อสาร,ความเชื่อมั่น,ความเป็นผู้นำ,การตัดสินใจ,การลดความขัดแย้ง),การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด,และกระบวนการ(สิ่งที่สะท้อนกลับคือประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างไรและดีขึ้นมากแค่ไหน(Johnson
และ Johnson. Online.
2009)
นอกจากของจอห์นสัน
ยังมีนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ เช่น
ของอาจารย์สุวิทย์ และอาจารย์อรทัย มูลคำได้ให้ความหมายไว้ว่า
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง
กระบวนการการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ
ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน
มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม
เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
sirirat boonchuprasert ได้รวบรวมว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย มีสมาชิก
3-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน
สมาชิกช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน,การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด, ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน,
การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย,
และ
การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงาน
การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
ประกอบด้วย กำหนดจุดมุ่งหมาย ขนาดกลุ่ม องค์ประกอบของกลุ่ม บทบาทของสมาชิก สถานที่
และงานที่กำหนดให้ผู้เรียนทำ
2. ด้านการสอน ประกอบด้วย
อธิบายและชี้แจงการทำงานของกลุ่ม เกณฑ์การประเมิน การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
การช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม การตรวจสอบความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละคน
และพฤติกรรมที่ความหวัง
3. ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม
ประกอบด้วย ดูแลให้สมาชิกกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรง
ช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม และสรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
ประกอบด้วย ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
และวิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ราชบัณฑิตสถาน (2551)
ได้ให้ความหมาย ว่า
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักให้ผู้เรียนช่วยกันเรียนรู้โดยพึ่งพากัน
มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดใช้ทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกัน
มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานกลุ่มและมีการตรวจสอบผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
วิกิพีเดีย ได้ให้ความหมายของ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
หมายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย
ๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน
โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน
ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
ซึ่งตรงข้ามกับการเรียนที่เน้นการแข่งขันและการเรียนตามลำพัง
ดร.นันทวรรณ แก้วโชติ ได้รวบรวมข้อมูลว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Theory
of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฎีนี้
คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกันต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้
มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดมีการสัมพันธ์กันมีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่มและมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพโดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์
การทำงานเป็นกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มเพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับส่วนบกพร่องของกลุ่ม
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันเรียนรู้โดยการพึ่งพากันโดยใช้กิจกรรม และส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน
ปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดมีการสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ร่วมกันวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม โดยในกลุ่มจะประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกันเพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
และยังเป็นการฝึกการรับผิดชอบร่วมกันภายในกลุ่ม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ที่มา
รังสิมา
วงษ์ตระกูล. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/401180.
[online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25กรกฎาคม พ.ศ. 2561
sirirat
boonchuprasert. (2558). https://prezi.com/onbvrds3ld51/collaborative-learning/.
[online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25กรกฎาคม
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2561
ดร.นันทวรรณ
แก้วโชติ. Learning Management : วิชาการจัดการเรียนรู้(1023401)วิทยาลัยการฝึกหัด ครู
มหาวิทยาลัยราชภัฎ
พระนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2561
พระนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2561
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น